ขั้นตอนการตรวจทางทัศนมาตร
1.ซักประวัติ
-
ทำให้รู้ถึงปัญหาและสาเหตุการมองเห็นที่ผิดปกติ เช่น อายุ ลักษณะการใช้สายตา โรคประจำตัว โรคทางตา ประวัติการใช้ยา
2.ประวัติการสวมใส่เลนส์ (แว่นตา/คอนแทคเลนส์)
-
รู้เเนวโน้มค่าสายตาและประเมินปัญหาการมองเห็นเบื้องต้นว่าเกิดจากแว่นที่ใส่หรือค่าสายตาที่เปลี่ยน
3.ทดสอบระดับการมองเห็น
-
ประเมินระดับการมองเห็นทั้งตาเปล่า หลังใส่แว่นเดิมและแว่นค่าสายตาใหม่ ทั้งระยะใกล้และไกล
4.ทดสอบการมองเห็นเบื้องต้น
-
เป็นการประเมินความผิดปกติขั้นต้นว่าเกิดจากกำลังการหักเหในตา การทำงานประสานกันของทั้งสองตาผิดปกติ หรือเกิดจากโรค
5.ตรวจวัดสายตา
-
การใช้เครื่อง Auto Refraction เพื่อประเมินค่าสายตาเบื้องต้น
-
ตววจอย่างละเอียดด้วยเครื่อง Phoroptor เพื่อให้ได้ค่าที่เเม่นยำมากขึ้น
-
ตรวจด้วย Retinoscope มักใช้ในการหาค่าสายตาในเด็กเล็ก หรือผู้ที่ตอบสนองไม่ได้ เช่นผู้พิการทางการได้ยินหรือพูด ผู้สูงอายุที่ตอบสนองช้า
-
ใส่แว่นทดลองด้วยค่าสายตาใหม่ มองระยะต่างๆ ตามประเภทเลนส์ เพื่อเลือกค่าสายตาที่เหมาะสมที่สุดให้กับลูกค้า
6.ตรวจวัดการทำงานร่วมกันของตาทั้งสอง
-
ทดสอบกำลังในการเพ่ง (Accommodation) ว่าถูกต้องแม่นยำสอดคล้องกับอายุและระยะการใช้งาน
-
ทดสอบการทำงานของทั้งสองตาว่ามีการทำงานประสานกันระหว่างตาทั้งสองและสอดคล้องกับระยะการมอง
7.ตรวจสุขภาพตา
-
เพื่อคัดกรองโรคทางตาเบื้องต้นที่ส่งผลต่อการมองเห็น เช่น ต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก ตาแห้ง โรคทางตาที่เกิดจากการใส่คอนเทคเลนส์ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา เพื่อเป็นการแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นก่อนไปพบจักษุแพทย์