ลูกค้าเพศชาย อายุ 49 ปี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
อาการ : “แว่นที่ซื้อมาใส่มองใกล้ไม่สบายตา มึนๆ บางครั้งปวดกระบอกตา เเต่มองไกลแว่นที่ใส่เป็นประจำยังชัดดีอยู่ เห็นเขาบอกถ้าอายุ 40 ปีขึ้นไปจะต้องมีเเว่นอ่านหนังสือเพราะสายตายาว”
ประวัติการใช้ยา : “ไม่มี”
ประวัติโรคทางตา/โรคประจำตัว : “ไม่มี”
พฤติกรรมการใช้สายตา : “พิมพ์งานทำเอกสาร(เล่นหุ้น) 10-12 ชม./วัน เลิกงานกลับบ้านก็ดูทีวี ไม่ค่อยเล่นมือถือเล่นครั้งหนึ่งราวๆ 10 นาที มีไปวิ่งตอนเย็นบ้าง ใส่แว่นที่ซื้อมาเเค่ตอนทำงานหน้าจอคอมฯ พอจะขับรถหรือทำกิจกรรมข้างนอกก็ใส่แว่นอีกตัวที่ไปตัดไว้มองไกลๆ พอต้องมองใกล้ๆ ก็ถอดเเว่นเอา ไม่อย่าพกเเว่น 2 ตัว”
ประวัติการใช้แว่นตา/คอนแทคเลนส์ : “ใส่แว่นครั้งเเรกตอนอายุ 18 แว่นมองไกลตัวล่าสุดตัดร้านแว่น ตัดมาราวๆ 1 ปี ส่วนเเว่นมองใกล้ใส่ทำงานไปซื้อที่ตลาดนัด ลองๆ ดูอันไหนชัดก็เอาอันนั้น ไปกับเพื่อนที่อายุใกล้ๆ กัน เขาใส่ได้ แต่ผมใส่ไม่ได้ “
ค่าสายตา
ค่าเเว่นเดิมมองไกล : ตาขวา -2.50-1.00X90
ตาซ้าย -1.25
ค่าเเว่นเดิมมองใกล้ : ตาขวา +1.50
ตาซ้าย +1.50
ระดับการมองเห็นแว่นเดิมมองไกล(ระยะทดสอบ 6 เมตร) : ตาขวา 20/20
ตาซ้าย 20/20
ระดับการมองเห็นแว่นเดิมมองใกล้(ระยะทดสอบ 40 cm) : ตาขวา 20/30
ตาซ้าย 20/20
Auto : ตาขวา -2.75-0.50X110
ตาซ้าย -1.00-0.25X90
ตรวจละเอียดค่าสายตามองไกล : ตาขวา -2.25-0.75X90 VA 20/20
ตาซ้าย -1.25 VA 20/20
ค่าสายตาที่จ่าย : ตาขวา -2.25-0.75X90 VA 20/20
ตาซ้าย -1.25 VA 20/20
ตรวจค่าสายตายาวที่ต้องเพิ่มในระยะใกล้ 40 cm (ค่า ADD) : +2.00
ตรวจค่าสายตายาวที่ต้องเพิ่มในระยะใกล้ 70 cm (ค่า ADD) : +1.50
ค่าสายตามองใกล้ที่ 40 cm : ตาขวา -0.25-0.75X90 VA 20/20
ตาซ้าย +0.75 VA 20/20
ตาข้างถนัด : ตาขวา
ระยะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ : 70 cm ค่อยข้างไกลเพราะมองสองหน้าจอพร้อมกันซ้ายขวา
ระยะเอกสาร : 40 cm
สรุปผลการตรวจ
ค่าสายตาสำหรับมองไกลตาขวามีค่าสายตาสั้นและเอียงโดยที่ตาข้างซ้ายมีเพียงค่าสายตาสั้น ตาขวามีค่าสายตาสั้นมากกว่า
ค่าสายตาสำหรับมองใกล้เมื่อผ่านการคำนวณโดยคิดค่าสายตายาวตามอายุเพิ่มเข้าไปเพื่อทำให้มองใกล้ชัด จึงทำให้ตาขวามีค่าสายตาสั้นเล็กน้อยร่วมกับเอียงส่วนตาซ้ายมีค่าสายตายาว เมื่อแก้ไขด้วยเเว่นทำให้การมองเห็นดีขึ้นเทียบเท่าคนปกติ
คนส่วนใหญ่มักสับสนระหว่างสายตายาวทั่วไปเเละสายตายาวตามอายุ และมักคิดว่าเมื่ออายุมากขึ้นค่าสายตาจะเป็นสายตายาวต้องไปหาซื้อแว่นสายตายาวที่เป็นเลนส์บวกมาใส่เพื่อใช้มองใกล้ๆ
ข้อแตกต่างระหว่างสายตายาวทั่วไปกับสายตายาวตามอายุ คือสายตายาวทั่วไปมักเป็นตั้งเเต่เด็กและตรวจพบได้ในทุกช่วงอายุอันเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างตา หรือโรคทางตาบางอย่างมักส่งผลให้มองระยะไกลและใกล้ไม่ชัด ส่วนสายตายาวตามอายุเกิดจากความเสื่อมของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น กำลังในการเพ่งเพื่อปรับให้ภาพคมชัดในระยะกลางและใกล้จะค่อยๆ ลดลง จึงทำให้มองระยะใกล้และกลางไม่ชัด มักพบในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมักจะตรวจพบค่าสายตาที่เรียกว่าค่า Addition หรือที่เรียกย่อๆ ว่าค่า ADD ซึ่งเป็นค่าที่ใส่เพิ่มเข้าไปในค่าสายตามองไกลซึ่งจะได้ออกมาเป็นค่าสายตาสำหรับมองใกล้
นั้นเเสดงว่าการจะได้เเว่นมองใกล้ที่ถูกต้องและเหมาะสมจะต้องแก้ไขปัญหามองไกลก่อน อย่างเช่นกรณีลูกค้ารายนี้ที่ใส่เเว่นมองใกล้ที่ซื้อตามตลาดไม่ได้เพราะค่าสายตามองไกลสองข้างไม่เท่ากันส่งผลให้ค่าสายตามองใกล้สองข้างไม่เท่ากัน และตาข้างขวาเป็นสายตาสั้นเพราะค่าสายตามองไกลเป็นสายตาสั้นที่มีค่ามากกว่าค่า ADD ฉนั้นการที่ลูกค้ารายนี้ไปซื้อเเว่นที่เป็นเลนส์บวกแก้ไขปัญหาสายตายาวจึงส่งผลให้ไม่สบายตา ปวดตา มึนศีรษะ เพราะตาเเต่ละข้างมีความคมชัดที่แตกต่างกัน
ระยะที่ใช้วัดส่งผลต่อค่า ADD ยิ่งวัตถุหรือตัวอักษรอยู่ใกล้ตาค่า ADD จะมีค่ามาก เช่น ตรวจวัดที่ระยะ 40 cm ได้ค่า ADD +200 แต่พฤติกรรมเน้นทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ตั้งห่างจากตัว 70 cm ค่า ADD จะลดลงเป็นประมาณ +100 ซึ่งค่า ADD +100 หากใส่เพิ่มในค่าสายตามองไกลจะทำให้ได้เป็นค่าสายตามองใกล้ที่ใส่เเล้วตัวอักษรชัดเจนสบายตาที่สุดในระยะการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่หากมองผิดระยะจะส่งผลให้ภาพไม่ชัด เช่น ใส่มองทีวี
ในระหว่างที่อายุค่อยๆเพิ่ม กำลังในการเพ่งจะค่อยๆ ลดลงจนไม่เหลือเมื่ออายุ 60 ปี ฉนั้นขณะที่อายุค่อยๆ เพิ่มจะมีอาการมองใกล้ไม่ค่อยชัด ช่วงเเรกอาจจะชัดหากขยับตัวออกห่างจากตัวอักษรที่มอง หรือหากตัวอักษรตัวใหญ่ก็จะไม่ค่อยส่งผลต่อการมอง แต่การมองใกล้จะค่อยๆ ไม่ค่อยชัดเพิ่มขึ้นแม้ขยับตัวหรือวัตถุเมื่ออายุเพิ่มขึ้น (ค่า ADD เพิ่มขึ้นทุกๆ 1-2 ปี)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าสายตามองใกล้
- ค่าสายตามองไกล : หากมองไกลมีค่าสายตาสั้นที่มากกว่าค่า ADD ค่าสายตามองใกล้จะเป็นค่าสายตาสั้น (เลนส์ลบ) ฉนั้นจะไม่สามารถใส่แว่นสายตายาวที่เป็นเลนส์บวกตามท้องตลาดได้ หากค่าสายตาสองข้างต่างกันแต่เเว่นที่มีขายตามท้องตลาดค่าสายตาสองข้างเท่ากันจะส่งผลทำให้ใส่แล้วไม่สบายตา มึนศีรษะ
- อายุ :
- ระยะที่ใช้เป็นประจำในการใช้งานสายตา :
- โรคทางตา :
แนวทางการแก้ไขและคำแนะนำเพิ่มเติม
คำแนะนำเลือกประเภทเลนส์สำหรับบุคคลที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เลือกตามพฤติกรรมการใช้สายตาของตัวเองว่าเน้นระยะไหน เช่น เป็นช่างทำแล็บเน้นใกล้ๆ เป็นพนักงานเอกสารเน้นทำงานหน้าจอคอม มองไกลยังโอเคไม่ชอบถอดแว่นเข้าออก และควรเปิดใจกับการปรับตัวตามประเภทเลนส์ที่ได้เลือก
ประเภทเลนส์ที่แนะนำ
- เลนส์ชั้นเดียว (Single lens) : ใช้ใส่มองได้ 1 ระยะ ต้องคอยถอดเเว่นเข้าออก มุมมองกว้าง ทั่วทั่งแผ่นเลนส์คือ 1 ค่าสายตา เลนส์ไร้รอยต่อ ปรับตัวในการมองระยะนั้นๆ ได้ง่าย
- เลนส์สองชั้น (Bifocal lens) : ใช้มองได้ 2 ระยะ คือไกลเเละใกล้ ใส่มองระยะกลาง (ระยะคอม) ไม่สะดวกเนื่องจากเลนส์มีรอยต่อ ภาพกระตุกเมื่อเปลี่ยนระยะการมอง
- เลนส์โปรเกรสซีฟ (Progressive lens) : ใช้มองได้ทุกระยะ เลนส์ไร้รอยต่อ ใช้เวลาในการปรับตัวขึ้นกับค่าสายตา โครงสร้างเลนส์ และการพยายามปรับตัวในเเต่ละบุคคล ตัวเลนส์เป็นโครงสร้างพิเศษมีการขัดไล่ค่าสายตา จึงทำให้เกิดภาพบิดเบือนเบลอๆด้านข้าง เเละมุมมองที่ใช้มองระยะกลางค่อนข้างแคบ
- เลนส์ดีเกรสซีฟ (Degressive lens) : ใช้สำหรับใส่ทำงานหน้าจอคอมฯ หรือใส่ประชุม แต่ใส่มองไกลกว่า 4 เมตรไม่ชัด เลนส์ไร้รอยต่อ ใช้เวลาในการปรับตัวขึ้นกับค่าสายตา โครงสร้างเลนส์ และการพยายามปรับตัวในเเต่ละบุคคล ตัวเลนส์เป็นโครงสร้างพิเศษมีการขัดไล่ค่าสายตา จึงทำให้เกิดภาพบิดเบือนเบลอๆ ด้านข้าง ระยะกลางที่ใช้มองหน้าจอคอมกว้างกว่าโปรเกรสซีฟ จึงถูกเรียกว่าเลนส์เฉพาะทางใส่ทำงาน
จ่ายแว่นแก้ไขปัญหามองใกล้เป็นเลนส์ชั้นเดียวค่าสายตา 2 ข้างต่างกัน ใส่เเค่ตอนทำงาน เล่นมือถือ หรืออ่านหนังสือ หากมองคอมหรือมองไกลเช่น ดูทีวี หรือขับรถให้ถอดแว่นออก พยายามอย่าใช้ผิดระยะเพราะจะทำให้มึน หมั่นพักสายตาทุกๆ 20 นาที เมื่อใช้สายตาระยะใกล้ อย่างน้อย 20 วินาที โดยการมองไกลกว่า 6 เมตร กะพริบตาบ่อยๆ ใส่แว่นตลอดเวลา ตรวจวัดสายตาทุกๆ 6 เดือน